พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐานเกาะสีชัง
เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ เพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์
๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในระยะเริ่มแรกสถาปนา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท ให้เป็นกองทุนสำหรับใช้ปลูกสร้างอาคารเรียน พร้อมกับกำหนดให้ที่ดินตำบลปทุมวัน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระคลังข้างที่เป็นอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ทั้งเงินทุนพระราชทานและที่ดินพระราชทานนี้ ถือว่าเป็นกองทุนสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างไรก็ดียังมิได้พระราชทานกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเด็ดขาด เนื่องจากยังติดอยู่ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ดังนั้นในทางทฤษฎี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องทำสัญญาเช่าที่ดินกับพระคลังข้างที่
ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๘๒ พันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออกกฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้มหาวิทยาลัย ตามรายละเอียดปรากฏใน “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๘๒” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานผืนนี้มาโดยสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจุบันที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ ๑,๑๕๓ ไร่ ซึ่งได้จัดแบ่งตามผังแม่บทได้เป็น ๓ ส่วน คือ พื้นที่เขตการศึกษาประมาณ ๕๐% พื้นที่สำหรับส่วนราชการยืมหรือเช่าใช้ประมาณ ๒๐% และพื้นที่เขตพาณิชย์ประมาณ ๓๐% ซึ่งการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เป็นไปตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ การที่มหาวิทยาลัยจะสามารถดำเนินพันธกิจหลักได้นั้น จำเป็นต้องมีทรัพยากร เกื้อหนุนเพิ่มเติมจากงบประมาณแผ่นดิน
เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ เพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์
คณะนิติศาสตร์ มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับโอนโรงเรียนกฎหมายมาจากกระทรวงยุติธรรม
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
อนุญาตทั้งหมดประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
รายละเอียดคุกกี้
ข่าวสารและสาระความรู้