๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัฒนาการของ ๔ คณะแรกเริ่ม
๓๓

พัฒนาการของ ๔ คณะแรกเริ่ม

ครั้นเวลาผ่านไป ๔ คณะแรกเริ่มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีพัฒนาการไปตามสถานการณ์และตามความเหมาะสม คือ

คณะรัฎฐประศาสนศาสตร์

คณะรัฎฐประศาสนศาสตร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมไปตามสถานการณ์ ประกอบกับในปี พ.ศ.๒๔๗๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับโอนโรงเรียนกฎหมายมาจากกระทรวงยุติธรรมและจัดการเรียนการสอนร่วมกับศาสตร์สาขารัฎฐประศาสนศาสตร์เดิม ดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แต่ในปีต่อมา คือ พ.ศ.๒๔๗๗ คณะนี้ได้โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองที่ตั้งใหม่ อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา ศาสตร์ทั้ง ๒ สาขานี้ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง คือ ได้มีการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๙๑ และได้มีการจัดตั้งแผนกวิชานิติศาสตร์ขึ้นในคณะรัฐศาสตร์ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ด้วย

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งแต่แรกเริ่มได้จัดการเรียนการสอนอยู่ที่ศิริราชพยาบาลนั้นได้ย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๔๘๖ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรทรงมีพระราชปรารภว่า สมควรให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ดังนั้นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ ๒ ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงได้กำเนิดขึ้นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในนาม “คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์”ใน พ.ศ.๒๔๙๐ และต่อมาโรงเรียนแพทย์แห่งนี้ได้โอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ.๒๕๑๐

คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งแต่แรกตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีสถานะเป็นคณะเดียวกันและสอนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่คณะอื่นนั้น ในเวลาต่อมาได้มีพัฒนาการ คือ ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาในศาสตร์สาขาอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะขึ้น รวมทั้งได้แยกออกเป็น ๒ คณะอิสระจากกันใน พ.ศ.๒๔๘๖ สำหรับคณะอักษรศาสตร์นั้น หลังจากแยกออกจากกันกับคณะวิทยาศาสตร์แล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์” ใน พ.ศ.๒๔๙๑ เพื่อให้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในขั้นปริญญาครุศาสตรบัณฑิตด้วย จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๐ เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ได้รับการยกฐานะเป็นคณะครุศาสตร์แล้ว ในส่วนของคณะอักษรศาสตร์จึงปรับเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะอักษรศาสตร์จวบจนปัจจุบัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ในบรรดา ๔ คณะแรกเริ่มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะเดียวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานภาพและสังกัด อีกทั้งได้มีพัฒนาการก้าวหน้ามาโดยลำดับ สามารถจัดการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ถึงขั้นระดับปริญญาได้ในเวลาต่อมา โดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เข้ารับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นชุดแรกใน พ.ศ.๒๔๗๘

กลับไปหน้าหลัก

คณะครุศาสตร์

คณะครุศาสตร์ถือกำเนิดมาจากแผนกฝึกหัดครูซึ่งเป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

๔๐

เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญที่จะเสริมสร้างบรรยากาศทางวัฒนธรรมไทยประกอบกับความคิดที่จะสร้างสรรค์ถาวรวัตถุเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวาระครบรอบ ๗๐ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๙๕

หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้องจดหมายเหตุ จัดเก็บและให้บริการเอกสาร หนังสือ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของที่มีคุณค่าเกี่ยวกับประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๗๙
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า