๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอสมุดดนตรีไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙๖

หอสมุดดนตรีไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอสมุดดนตรีไทยเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสร้างขึ้นเพื่อรองรับพันธกิจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการทำนุบำรุงรักษา รวมทั้งอนุรักษ์วิชาการทางด้านดนตรีไทยอันเป็นสมบัติทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นเอกราชของชาติไทย โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการเก็บข้อมูลทางดนตรีให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงการอนุรักษ์และการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการดนตรีไทย ในห้องสมุดดังกล่าวเป็นข้อมูลทางดนตรีไทยที่หาฟังได้ยากในปัจจุบัน ประกอบด้วย ข้อมูลเสียงประเภทเพลงเรื่อง ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ข้อมูลเสียงจากวงเครื่องสายผสมที่ได้รับความนิยมในช่วง ๕๐ปี ที่ผ่านมา ข้อมูลเสียงจากกรมศิลปากร ข้อมูลเสียงและภาพจากโครงการบันทึกข้อมูลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ จนถึงปัจจุบัน ที่นำเอาคณะดนตรีไทยจากหน่วยราชการ องค์กร สำนักดนตรีที่สืบทอดทางบรรเลงดนตรีจากครูดนตรีผู้มีฝีมือในอดีตมาบรรเลง บันทึกเสียงและภาพ ในความควบคุมของอาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งข้อมูลภาพและเสียงกิจกรรมทางดนตรีไทยที่มีความสำคัญทางวิชาการและประวัติศาสตร์ อาทิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงดนตรีในรายการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และรายการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น การแสดงดนตรีไทยของศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิในรายการจุฬาวาทิตกิตติมศักดิ์ การแสดงดนตรีนาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน ในรายการแสดงจุฬาวาทิต ณ เรือนไทยจุฬาฯ เป็นต้น โดยนำข้อมูลดังกล่าวจัดเก็บเป็นข้อมูลระบบดิจิตอลความยาวประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ นาที หรือ ๘,๐๐๐ เพลง รวมทั้งจัดทำโปรแกรมระบบสืบค้นและให้บริการในลักษณะของห้องสมุดมัลติมีเดียทางดนตรีไทยเป็นแห่งแรกที่รวบรวมข้อมูลเพลงไทยที่หาฟังยากไว้มากที่สุดในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ หอสมุดดนตรีไทย เริ่มเปิดให้บริการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดส่วนบริการห้องสมุดดนตรีไทย ณ บริเวณชั้น ๓ ศูนย์วิทยทรัพยากร ในอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๔ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ที่อาคารศิลปวัฒนธรรม จึงได้ใช้พื้นที่บริเวณชั้น ๓ ของอาคารศิลปวัฒนธรรม จัดตั้งเป็นหอสมุดดนตรีไทยที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

กลับไปหน้าหลัก

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น

ก้าวสำคัญของการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิตนักศึกษา ส่งผลให้สื่อมวลชนเผยแพร่กิจกรรมของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมในหมู่นิสิตนักศึกษาด้วย

๖๑

๔ คณะเริ่มแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

จากกิจกรรมสู่ประเพณี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความสามารถของนิสิต โดยเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมและแสดงออกอย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับคณะและมหาวิทยาลัยอีกด้วย

๓๐
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า