๑๐๐ เรื่องจามจุรี
๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๐๐ เรื่องที่แสดงถึงแสดงพัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่แรกเริ่ม และบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อการพัฒนาสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

พระราชปณิธาน

“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”

การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน รากฐานการกำเนิดจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สร้างจุฬาฯ คือสร้างปัญญาชน

โรงเรียนมหาดเล็กกับการกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงเรียนมหาดเล็กกับการกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรงเห็นข้อดีของการที่ข้าราชการควรจะเป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้จักและไว้วางพระราชหฤทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่จะออกไปประจำการตามมณฑลต่างๆ

จากโรงเรียนมหาดเล็กสู่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๕๓

ตึกบัญชาการ พ.ศ.๒๔๕๖

ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นตึกบัญชาการเป็น “อาคารมหาจุฬาลงกรณ์” ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุม สัมมนา และรับรองอาคันตุกะของมหาวิทยาลัย

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์ ตึกบัญชาการ พ.ศ.๒๔๕๘

การประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๕๙

หลักเฉลิมแห่งพระนคร

ซึ่งหมายถึงจะต้องเป็นหลักให้แก่ประเทศชาติได้ ทั้งในด้านการเป็นแหล่งศึกษาศิลปวิทยาการขั้นสูง และการเป็นแหล่งผลิตบุคคลออกไปรับใช้ประเทศชาติ ทั้งยังเป็นหลักอันแสดงความมีอารยะของสยามประเทศ ที่สะท้อนความเป็นชาติที่มีพัฒนาการก้าวไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก

๔ คณะเริ่มแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

พระเกี้ยว

เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์

๑๐

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๑

พระบรมราชูปถัมภก

สืบเนื่องเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันแห่งนี้

๑๒

ครุย อาภรณ์แห่งปัญญา

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจะเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนด เสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๗๓ ขึ้น

๑๓

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก

“…ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาให้ปริญญาแก่นักเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในวันนี้ นับเป็นวันสำคัญสำหรับประวัติการของประเทศสยามด้วย เพราะว่าไม่ว่าประเทศใดๆ ความเจริญของประเทศนั้นย่อมวัดด้วยความเจริญของการศึกษานั้นอย่างหนึ่ง…”

๑๔

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

“สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์” แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๕

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ทรงสอนและพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะแรกเริ่ม

๑๖

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ และทรงเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย

๑๗

คณะกรรมการดำริรูปการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการบริหารจัดการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากลมากขึ้น

๑๘

จากตำแหน่งผู้บัญชาการสู่อธิการบดี

ศาสตราจารย์ ดร.เอ. จี. เอลลิส(A.G. Ellis) ชาวอเมริกัน ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๙

การปรับหลักสูตรระดับปริญญา

คณะแพทยศาสตร์ คือคณะแรกที่พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัย

๒๐

คณาจารย์ชาวต่างประเทศรุ่นแรก

ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ

๒๑

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยสร้างชาติ

เมื่อพันเอกหลวงพิบูลสงครามได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ยังคงดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไป การที่บุคคลในคณะรัฐบาลเข้ารับตำแหน่งสำคัญในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้นำคณะราษฎรได้ให้ความสำคัญแก่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมาก

๒๒

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑ – ๒๔๘๙ นิสิตที่จะเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ก่อน

๒๓

กรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน

ปัจจุบันที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ ๑,๑๕๓ ไร่ ซึ่งได้จัดแบ่งตามผังแม่บทได้เป็น ๓ ส่วน

๒๔

กำเนิดหอพักนิสิต

การศึกษาในสมัยแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดแบบ Residential College หรือเป็นการศึกษาและอยู่กินในมหาวิทยาลัย หอพักนิสิตจุฬาฯ จึงถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับการมีมหาวิทยาลัย

๒๕
กำเนิดสโมสรนิสิต

กำเนิดสโมสรนิสิต

การพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยในระบบสากล ไม่ได้จำกัดเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของนิสิตด้วย

๒๖

แรกเริ่มมีนิสิตหญิงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๗

บัณฑิตหญิงรุ่นแรก

นิสิตหญิงรุ่นแรกที่เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ และจบการศึกษา ๖ คน

๒๘

แรกเริ่มมีหอพักนิสิตหญิง

เจ้าจอมสมบูรณ์ในรัชกาลที่ ๕ ได้บำเพ็ญกุศลทำบุญฉลองอายุครบหกรอบ โดยบริจาคเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและระบุวัตถุประสงค์ให้สร้างหอพักนิสิตหญิง

๒๙

จากกิจกรรมสู่ประเพณี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความสามารถของนิสิต โดยเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมและแสดงออกอย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตด้วยกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับคณะและมหาวิทยาลัยอีกด้วย

๓๐

สภานิสิตรุ่นแรก เมื่อ “ประชาธิปไตยเบ่งบาน”

กระแสประชาธิปไตยเบ่งบานหลังกรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานของนิสิตด้วยโดยเปลี่ยนจากระบบสโมสรแบบเดิม

๓๑

การขยายตัวของศาสตร์สาขาต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๓๒

พัฒนาการของ ๔ คณะแรกเริ่ม

ครั้นเวลาผ่านไป ๔ คณะแรกเริ่มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีพัฒนาการไปตามสถานการณ์และตามความเหมาะสม

๓๓
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

เริ่มต้นจากการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมในโรงเรียนเพาะช่าง และยกฐานะขึ้นเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปี พ.ศ.๒๔๘๒

๓๔

คณะเภสัชศาสตร์

มีกำเนิดสืบเนื่องจาก “แผนกแพทย์ผสมยาโรงเรียนราชแพทยาลัย” หรือ “โรงเรียนปรุงยา”

๓๕

คณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้งแผนกสัตวแพทยศาสตร์ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมอาชีพต่างๆแก่ประชาชน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ด้วย

๓๖

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเปิด “แผนกวิชาการบัญชี” และ “แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์” ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการที่รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้คนไทยเข้ามาประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อปูพื้นฐานให้ประชาชนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจของประเทศ

๓๗

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้งแผนกทันตแพทยศาสตร์ขึ้นเป็นแผนกอิสระ ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เคียงกับรัฐบาลประกาศให้ประชาชนเลิกกินหมากและชี้ให้เห็นโทษของการกินหมาก

๓๘

คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับโอนโรงเรียนกฎหมายมาจากกระทรวงยุติธรรม

๓๙

คณะครุศาสตร์

คณะครุศาสตร์ถือกำเนิดมาจากแผนกฝึกหัดครูซึ่งเป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

๔๐

บัณฑิตวิทยาลัย

มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสอนและการวิจัยในสาขาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาตลอดจนทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมมาตรฐานด้านวิชาการ ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานของภาควิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งนำไปสู่การสร้างและขยายความสามารถของมหาวิทยาลัยในด้านวิชาการและการวิจัย

๔๑

คณะนิเทศศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาการหนังสือพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๒ ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับอนุปริญญาสังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

๔๒

คณะเศรษฐศาสตร์

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ

๔๓

คณะพยาบาลศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนด้านการพยาบาลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเป็นภาควิชาพยาบาลศึกษา ในคณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ผลิตครูพยาบาลระดับปริญญาตรี รวมทั้งได้ผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาลเพื่อสร้างผู้นำทางการพยาบาลด้วย

๔๔

คณะสหเวชศาสตร์

เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาต่างๆ อย่างครบวงจร

๔๕

คณะศิลปกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการจัดตั้งหน่วยงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ที่มีเป้าหมายให้ครอบคลุมศิลปะทุกสาขาอย่างสมบูรณ์ เช่น วิจิตรศิลป์ เนรมิตศิลป์ ศิลปทฤษฎี ดุริยางค์และศิลปการแสดง เป็นต้น

๔๖

คณะจิตวิทยา

ปริญญาเอกหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย

๔๗

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการพลศึกษาและสุขศึกษา

๔๘

สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักว่าประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในฐานะแหล่งธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและการเกษตร เป็นครัวโลกสำคัญที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศที่ผลิตอาหารในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก

๔๙

คอมพิวเตอร์ยุคแรกเริ่ม

เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดตั้ง “หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์” (Computer Science) ขึ้นในบัณฑิตวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒

๕๐

การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานทะเบียนนิสิต

พ.ศ.๒๕๑๘ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้งหน่วยทะเบียนกลางขึ้นสังกัดฝ่ายวิชาการ สำนักงานอธิการบดี เพื่อดำเนินงานด้านทะเบียนนิสิตและบริการด้านการลงทะเบียนของนิสิตด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

๕๑

เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต้นแบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศไทย

๕๒

CU Writer

เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยความร่วมมือจากสถาบันบริการคอมพิวเตอร์กับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า จุฬาเวิร์ด หรือ เวิร์ดจุฬา หรือ CW

๕๓

หน่วยงานแรกในประเทศไทยที่เชื่อมเข้าสู่ระบบสารสนเทศอินเทอร์เน็ต (Internet)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่เชื่อมเข้าสู่ระบบสารสนเทศอินเทอร์เน็ตได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๕๔

การเดินขบวนของนิสิตเพื่อเรียกร้องดินแดนอินโดจีน

๕๕

สงครามโลกครั้งที่ ๒ อนุสรณ์สถาน ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ

๕๖

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายของรัฐบาลสมัยรัฐประหาร

๕๗

ข้อตกลงการผลิตนักปกครองสู่สังคมไทย

เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการก่อตั้งโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งสืบเนื่องต่อมายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง คือการผลิตบุคคลเข้าสู่ระบบราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการสายปกครองให้กับกระทรวงมหาดไทย

๕๘

อุดมการณ์เพื่อมวลชน

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายคนในระยะนั้นได้เข้ามามีบทบาททางด้านนี้ ที่เด่นมากเช่น จิตร ภูมิศักดิ์

๕๙

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเลือกตั้งปี พ.ศ.๒๕๐๐

๖๐

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น

ก้าวสำคัญของการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิตนักศึกษา ส่งผลให้สื่อมวลชนเผยแพร่กิจกรรมของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมในหมู่นิสิตนักศึกษาด้วย

๖๑

ตื่นตัวกับปัญหาบ้านเมืองและเรียกร้องรัฐธรรมนูญก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖

๖๒

โครงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนในชนบท

โดยการส่งนิสิตนักศึกษาออกไปเผยแพร่ความรู้กับประชาชนในชนบททั่วประเทศ ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การใช้สิทธิในการเรียกร้องตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

๖๓

การบุกเบิกงานค่ายอาสา

ในฐานะที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของสโมสรนิสิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะค่ายอาสาเป็นกิจกรรมที่ยูเนสโกสนับสนุนและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเยาวชนตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐

๖๔

ค่ายยุววิศวกรบพิธ

ค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความสืบเนื่องมาจากโครงการค่ายอาสาพัฒนาเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมของนิสิตชมรมอาสาพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒

๖๕

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการแก้ไขปัญหาสังคมไทย: เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ

๖๖

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์จากเหตุการณ์อุทกภัยในกรุงเทพ มหานครและ ปริมณฑลในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

๖๗

การบริการวิชาการสู่สังคม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักดีว่าการจัดการศึกษาตามหลักสูตรเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการของสังคม สมควรต้องเพิ่มบทบาทในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ที่ได้สร้างสมในมหาวิทยาลัยไปสู่สังคมอย่างทั่วถึงและกว้างไกลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

๖๘

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันสู่ชนบทและ สนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๖๙

การให้ทุนสนับสนุนการศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายอย่างแน่ชัดว่าจะต้องไม่มีนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องออกจากการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์

๗๐

บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สปอ.: การก้าวสู่หลักสูตรนานาชาติ

การพัฒนาเศรษฐกิจตลอดจนการพัฒนาระดับชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางการเมืองและความสงบสุขของสังคมด้วย

๗๑

การผลิตมหาบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนาม “ศศินทร์” เป็นชื่อสถาบันโดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

๗๒

การเผยแพร่ความเป็นไทยสู่นานาชาติ

หลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิได้จำกัดอยู่เฉพาะหลักสูตรที่เรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังมีหลักสูตรนานาชาติอีกลักษณะหนึ่ง คือหลักสูตรไทยศึกษา ซึ่งมุ่งเผยแพร่ความเป็นไทยสู่นานาชาติ

๗๓

การจัดการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งซึ่งจะเป็นที่สนใจในหมู่นานาชาติมากยิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปสังคมโลกได้หันมาสนใจโลกตะวันออกเพิ่มมากขึ้น

๗๔

การจัดการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ

สร้างบทบาทให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประตูสู่ภูมิภาคและนานาชาติ รวมทั้งให้สร้างความเป็นศูนย์อ้างอิงทางวิชาการซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ

๗๕

การสร้างเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ: ประมุขนานาชาติเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๗๖

พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์

๑ ใน ๑๑ พิพิธภัณฑ์ของโลกและเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ภายใต้เทคนิคที่เรียกว่า Plastinated human bodies ซึ่งเป็นการแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อด้วยสารพลาสติกเหลว ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา และสามารถคงสภาพอยู่ได้นาน

๗๗

พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงวาจวิทยาวัฑฒน์คณบดีคนแรกผู้ก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์และเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๒๐๐ ปี

๗๘

หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้องจดหมายเหตุ จัดเก็บและให้บริการเอกสาร หนังสือ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของที่มีคุณค่าเกี่ยวกับประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๗๙

หอพระไตรปิฎกนานาชาติ

เป็นศูนย์กลางการค้นคว้าและวิจัยด้านพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง

๘๐

พิพิธพัสดุ์ไท-กะได

เป็นที่รวบรวมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย พร้อมเครื่องประดับของสตรีชนเผ่าไท-กะได และชนเผ่าในแขวงเขตเซกอง ลาวใต้

๘๑

พิพิธภัณฑ์สมุนไพร

สมุนไพรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เครื่องมือทางเภสัชกรรม และองค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งวิวัฒนาการเภสัชกรรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่นิสิต

๘๒

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

จัดแสดงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพอุปกรณ์การถ่ายภาพต่างๆ และภาพถ่ายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันรวมทั้งวิวัฒนาการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และวัตถุพิมพ์ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดแสดงกล้องถ่ายภาพภาพถ่ายสีเชิงศิลปะ

๘๓

พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์

เก็บรวบรวมตัวอย่างปรสิตภายในและภายนอกของสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เป็นหนอนพยาธิ แมลง ไร เห็บ และ โปรโตซัว จำแนกชนิดไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากของจริง

๘๔

พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา

เป็นพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับวัฏจักรของหิน แร่ การแสดงกลุ่มหินชุดต่าง ๆ ของประเทศตามตารางธรณี ซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ รวมทั้งไดโนเสาร์ และทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศ

๘๕

พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์

เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพืชเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับพืชของประเทศไทยรวมทั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติงานวิจัยของนิสิตและคณาจารย์

๘๖

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา

“เรารู้จักตนเองได้ด้วยการรู้จักธรรมชาติและชีวิตรอบตัวเรา อยากศึกษา อยากสนุกเพลิดเพลิน ควรมาชมพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

๘๗

พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์

จัดแสดงพระประวัติและพระกรณียกิจของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ของที่ทรงได้รับพระราชทานลายพระหัตถ์และพระราชหัตถเลขาระหว่างพระองค์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมไปถึงประวัติของพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ

๘๘

พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐานเกาะสีชัง

เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ เพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์

๘๙

พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดง “เอกสหิบิเชน” หรือพิพิธภัณฑ์สิ่งของที่หาได้บนเกาะสีชัง

๙๐

แหล่งรวมสรรพวิทยาการอันเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ทั้งการสืบทอด อนุรักษ์ และเผยแพร่ โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย

๙๑

หอศิลป์จามจุรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อสนับสนุนและสร้างสรรค์เผยแพร่ผลงานของศิลปินไทยอีกขั้นหนึ่ง

๙๒

หอศิลปวิทยนิทรรศน์

เป็นแหล่งความรู้สำหรับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทยและต่างประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ทำการทดลอง ค้นคว้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ๆ ที่นอกเหนือกฎเกณฑ์เดิมๆ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์คือทักษะสำคัญของการอยู่รอดของบัณฑิตในโลกวันหน้า”

๙๓

กำเนิดวันภาษาไทยแห่งชาติ

“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้…“

๙๔

เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญที่จะเสริมสร้างบรรยากาศทางวัฒนธรรมไทยประกอบกับความคิดที่จะสร้างสรรค์ถาวรวัตถุเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวาระครบรอบ ๗๐ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๙๕

หอสมุดดนตรีไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อรองรับพันธกิจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการทำนุบำรุงรักษา รวมทั้งอนุรักษ์วิชาการทางด้านดนตรีไทยอันเป็นสมบัติทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นเอกราชของชาติไทย

๙๖

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นศิลปะขั้นสุดยอดในยุคหนึ่งแห่งวิชาการดุริยางคศิลป์ไทยต้องใช้บุคคลที่พร้อมด้วยทักษะและประสบการณ์ผิดกว่าการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์อื่นๆ

๙๗

วงดนตรี ซี ยู แบนด์

บรรเลงครั้งแรกในงานต้อนรับนิสิตใหม่ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙

๙๘

วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

๙๙

ดอกผลจามจุรี

๑๐๐