ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมงาน “วันอาสาฬหบูชา”
มาร่วมกันสวดมนต์และเวียนเทียนในบรรยากาศที่สงบและงดงาม เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และสร้างความสงบให้กับจิตใจ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568 ตั้งแต่ 17.30 น. เป็นต้นไป
ณ อาคารธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CU String Orchestra สำเนียงเสียงสยาม ชุด “เสียงประสานปักษ์ใต้”
บทประพันธ์เพลงและอำนวยเพลงโดย รศ.ดร.นรอรรถ จันทร์กล่ำ
เดี่ยวไวโอลินโดย กสิณา อังศวานนท์
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.00 น.
ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ไม่เสียค่าเข้าชม)
ขอเชิญชมดนตรีไทยรายการ “13 รอบชาตกาล ขุนสมานประหาสกิจ บิดาแห่งวงเครื่องสายผสมหีบเพลงชัก และ 10 ปี วงบางขนาย”
ควบคุมการบรรเลงโดย นายแพทย์ตรีรัตน์ ยังรอต
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 18.00 น.
ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ไม่เสียค่าเข้าชม)
นิทรรศการเซรามิก “หมู่มวลสวนผึ้ง”
ผลงานนี้เป็นหนึ่งในโครงการ ราชบัณฑิตสัญจร สำนักศิลปกรรม ประจำปี 2568 ในหัวข้อ “การพัฒนารูปแบบเซรามิกศิลปาชีพ กลุ่มสมาชิกศิลปาชีพสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี”
จัดแสดงวันที่ 27 มิถุนายน – 25 กรกฎาคม 2568
ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันจันทร์–วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น.
เทศกาลขับร้องประสานเสียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11
โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Jeffery Ames จาก Belmont University, USA และ Dr. T. J. Harper จาก University of St. Thomas, USA
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2568
นิทรรศการศิลปะ “ดินสอพองและกาวเม็ดมะขาม: สู่ความงามบนพื้นผ้าใบ”
“เพื่อสืบสาน ต่อยอด และอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย”
จัดแสดงวันที่ 27 มีนาคม – 29 สิงหาคม 2568 (ขยายเวลาจัดแสดง)
วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีกับ
คุณกรรชิต จิตระทาน
ผู้อำนวยการสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม
ในโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นแห่งชาติ ปขมท. ประจำปี พ.ศ. 2567
รางวัลชมเชย ด้าน “บริหารดีเด่น”
รายงานประจำปีและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ปีงบประมาณ 2567
Annual & Sustainability Report 2024
Virtual Exhibition /
Online Gallery
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง เกิดรูปแบบที่หลากหลายเพื่อพยายามทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้แบบปกติในวิถีใหม่ (new normal) ทั้ง การศึกษา เศรษฐกิจ หรือแม้แต่ศิลปะและความบันเทิงต่างๆ
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงปรับรูปแบบการเผยแพร่องค์ความรู้และนิทรรศการศิลปะ ในรูปแบบออนไลน์ ที่มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งการจัดทำห้องนิทรรศการเสมือนจริง ที่สามารถเดินเข้าชมได้ใกล้เคียงสถานที่จริงมากที่สุด และการจัดทำหอศิลป์ออนไลน์ทดแทนการจัดนิทรรศการ ณ หอศิลป์จามจุรี ที่มีศิลปิน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาแสดงงานอยู่เสมอ
นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อผู้สนใจทุกท่าน และเพื่อให้ภารกิจสำเร็จได้ตามเป้าหมาย แม้ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้