๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากตำแหน่งผู้บัญชาการสู่อธิการบดี
๑๙

จากตำแหน่งผู้บัญชาการสู่อธิการบดี

ในระยะแรกเริ่ม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีตำแหน่งอธิการบดีเช่นในปัจจุบัน ตำแหน่งที่เทียบเท่ากัน คือ “ผู้บัญชาการ” ซึ่งประกอบด้วย

  • พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ – ๒๔๖๘
  • พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการคนที่ ๒ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ – ๒๔๗๔

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยยกเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยมาสู่ระบบใหม่ที่มีคณะกรรมการคณะหนึ่งมาเป็นผู้ดูแลควบคุมการบริหารเรียกว่า สภามหาวิทยาลัย และเปลี่ยนตำแหน่งบริหารสูงสุดเป็นตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งจะได้รับเลือกโดยสภามหาวิทยาลัย และจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนด

ศาสตราจารย์ ดร.เอ. จี. เอลลิส(A.G. Ellis) ชาวอเมริกัน ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๘ – วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ และเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ด้วย

กลับไปหน้าหลัก

คณะพยาบาลศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนด้านการพยาบาลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเป็นภาควิชาพยาบาลศึกษา ในคณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ผลิตครูพยาบาลระดับปริญญาตรี รวมทั้งได้ผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาลเพื่อสร้างผู้นำทางการพยาบาลด้วย

๔๔

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น

ก้าวสำคัญของการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิตนักศึกษา ส่งผลให้สื่อมวลชนเผยแพร่กิจกรรมของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมในหมู่นิสิตนักศึกษาด้วย

๖๑

คณะกรรมการดำริรูปการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการบริหารจัดการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากลมากขึ้น

๑๘
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า