๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๑๗

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระ
ศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังทรงศึกษาวิชาการด้านอื่นๆ ที่ทรงสนพระทัย ได้แก่ สาธารณสุขศาสตร์ ปรัชญา วรรณคดี จิตวิทยาและครุศาสตร์
เป็นต้น

คุณูปการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีหลายประการ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่สาม โดยได้ทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๐๑ และทรงเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยแรกเริ่มนั้นมีที่ทำการสมาคมอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ และทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕

ในส่วนของการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานพระกรุณาธิคุณแก่คณะสัตวแพทยศาสตร์หลายประการ อาทิ ประทานเครื่องมือ อุปกรณ์รักษาสัตว์ และทรงสนับสนุนการสร้างตึกฉุกเฉินรักษาสัตว์ ประทานกองทุนเพื่อรักษาสัตว์ป่วยอนาถาและสุนัขจรจัด ประทานทุนศึกษาดูงานและวิจัยแก่คณาจารย์ เป็นต้น

และจากความสนพระทัยในดนตรีคลาสสิก จึงทรงเป็นองค์อุปถัมภ์วงซิมโฟนีออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ในช่วงที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรการแสดงของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประทานกำลังใจให้แก่วงดนตรีอย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ที่สำคัญยิ่งต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์หนึ่ง

กลับไปหน้าหลัก

หอศิลปวิทยนิทรรศน์

เป็นแหล่งความรู้สำหรับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทยและต่างประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ทำการทดลอง ค้นคว้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ๆ ที่นอกเหนือกฎเกณฑ์เดิมๆ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์คือทักษะสำคัญของการอยู่รอดของบัณฑิตในโลกวันหน้า”

๙๓
กำเนิดสโมสรนิสิต

กำเนิดสโมสรนิสิต

การพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยในระบบสากล ไม่ได้จำกัดเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของนิสิตด้วย

๒๖

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการแก้ไขปัญหาสังคมไทย: เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ

๖๖
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า