พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา
เป็นพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับวัฏจักรของหิน แร่ การแสดงกลุ่มหินชุดต่าง ๆ ของประเทศตามตารางธรณี ซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ รวมทั้งไดโนเสาร์ และทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศ
๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่ายยุววิศวกรบพิธเป็นค่ายอาสาพัฒนาของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความสืบเนื่องมาจากโครงการค่ายอาสาพัฒนาเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมของนิสิตชมรมอาสาพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เนื่องจากได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นทางภาคใต้ ทำให้ทางสัญจรหลายสายชำรุดและขาดช่วง การลำเลียงพืชผลเป็นไปอย่างยากลำบาก ทางนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ประชุมหารือกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบกับเห็นว่าการสร้างหรือซ่อมแซมถนนเป็นงานด้านการช่าง ซึ่งพอจะช่วยเหลือได้ จึงได้ออกเดินทางสำรวจเส้นทางในแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้พบเส้นทางสายหนึ่งในนิคมสร้างตนเองตำบลอ่าวน้อย ซึ่งเดิมทีทางสายนี้ได้ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงผลิตผลทางการเกษตรของราษฎรในนิคมเพื่อออกสู่ตลาดภายนอก แต่ผลจากอุทกภัยได้ทำให้ทางขาด การขนส่งเป็นไปอย่างยากลำบาก นิสิตเหล่านี้จึงได้ตกลงสร้างสะพานไม้ถาวรขึ้นที่นี่ โดยใช้แบบสะพานจากกรมทางหลวง ในด้านเงินงบประมาณนั้นส่วนหนึ่งได้จากทางคณะ ซึ่งไม่เพียงพอในการดำเนินการ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ร่างหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น พระองค์ท่านจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่นิสิตเพื่อใช้ในโครงการนี้พร้อมกันนี้ยังทรงมีพระราชกระแสรับสั่งมายังนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกคน มีใจความสั้นๆ ว่า “จงทำตนให้เป็นผู้ใหญ่ และรอบคอบ ทำอะไรอย่าให้บานปลาย” จากนั้นนิสิตจึงได้เริ่มดำเนินการสร้างสะพานไม้ถาวรขึ้น นับเป็นผลงานชิ้นแรกของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และโครงการอาสาพัฒนาเช่นนี้ก็ได้ดำเนินสืบต่อเนื่องมา
นาม “ยุววิศวกรบพิธ” ได้เกิดขึ้นใน พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากเป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สะพานแขวนที่ชมรมอาสาพัฒนาได้สร้างขึ้นระหว่างการออกค่ายภาคฤดูร้อน ณ บ้านม่วงชุม ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
สะพานแขวนนี้ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริต่อมายังนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อชมรมอาสาพัฒนาสร้างสะพานเสร็จ จึงได้พระราชทานนามว่า “สะพานยุววิศวกรบพิธ” และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี มาประกอบพิธีเปิดสะพานแห่งนี้ ในปีต่อๆ มาก็ได้พระราชทานนาม “ยุววิศวกรบพิธ” แก่สิ่งก่อสร้างที่ชมรมอาสาพัฒนาได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นสาธารณสมบัติในท้องที่ทุรกันดาร ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้พระราชทานนาม “ยุววิศวกรบพิธ ๕” แก่ฝายน้ำล้นที่สร้างขึ้นที่บ้านโห้ง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด “ฝายน้ำล้นยุววิศวกรบพิธ ๕” ด้วยพระองค์เอง ในโอกาสนี้ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณาจารย์และนิสิตได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ยังความปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่บรรดาอาจารย์และนิสิตเป็นล้นพ้น ชมรมอาสาพัฒนาของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดให้มีโครงการค่ายอาสาพัฒนาเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดสร้างสิ่งก่อสร้างถาวรในท้องที่ทุรกันดารให้เป็นสาธารณสมบัติเพื่อประโยชน์ของชาวท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งสะพานไม้ถาวร สะพานคอนกรีต ฝายน้ำล้น และอาคารเรียน เป็นต้น
จากผลการสำรวจและประเมินผล ปรากฏว่าสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของชมรมอาสาพัฒนานี้ยังคงอำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างดี ได้ช่วยสร้างความเจริญและการกินดีอยู่ดีแก่ชาวบ้านไม่น้อย โครงการค่ายอาสาพัฒนาแต่ละปีเป็นงานหนักและท้าทายความสามารถเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การสำรวจเพื่อคัดเลือกตำแหน่งที่ตั้งของโครงการ การกำหนดลักษณะสิ่งก่อสร้างการออกแบบ การรณรงค์จัดหาทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนโครงการ ตลอดจนการบริหารงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
นอกจากนี้จะต้องประสานกับชาวบ้านเพื่ออยู่ร่วมกันในระหว่างออกค่าย ซึ่งกลุ่มนิสิตผู้ร่วมงานก็ได้ปฏิบัติงานอย่างอุทิศตนด้วยความเสียสละอย่างน่าชมเชย
เป็นพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับวัฏจักรของหิน แร่ การแสดงกลุ่มหินชุดต่าง ๆ ของประเทศตามตารางธรณี ซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ รวมทั้งไดโนเสาร์ และทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศ
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นศิลปะขั้นสุดยอดในยุคหนึ่งแห่งวิชาการดุริยางคศิลป์ไทยต้องใช้บุคคลที่พร้อมด้วยทักษะและประสบการณ์ผิดกว่าการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์อื่นๆ
จัดแสดงพระประวัติและพระกรณียกิจของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ของที่ทรงได้รับพระราชทานลายพระหัตถ์และพระราชหัตถเลขาระหว่างพระองค์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมไปถึงประวัติของพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
อนุญาตทั้งหมดประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
รายละเอียดคุกกี้
ข่าวสารและสาระความรู้