๑๐๐ เรื่องจามจุรี ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการแก้ไขปัญหาสังคมไทย: เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
๖๖

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการแก้ไขปัญหาสังคมไทย: เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ

เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ได้เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลอย่างรุนแรงที่นอกชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตราส่งผลให้เกิดพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิครั้งร้ายแรง ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า ๒๘๐,๐๐๐ คน ในภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดีย เหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยถึง ๖ จังหวัดได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูลและเนื่องจากพื้นที่ที่เสียหายเหล่านี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้จำนวนมหาศาลแก่ประเทศจึงส่งผลเสียต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก การเข้าช่วยเหลือและแก้ปัญหาเร่งด่วนโดยเฉพาะผลกระทบต่อชีวิต สุขภาพ และทรัพย์สิน เป็นสิ่งจำเป็นในลำดับแรก

หน่วยงานและบุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเร่งด่วนในเขตภัยพิบัติและให้ความช่วยเหลือในระยะยาวหลังจากที่เหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ผ่านพ้นไปแล้ว บทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการช่วยเหลือและสนับสนุนการแก้ปัญหากรณีธรณีพิบัติภัยสึนามิครั้งนี้ ประกอบด้วย

๑. การสนับสนุนงานด้านบรรเทาทุกข์และบรรเทาสาธารณภัยในระยะเร่งด่วน คณะแพทยศาสตร์ ได้จัดส่งทีมแพทย์และพยาบาล (ดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย) จำนวน ๑๑๗ คน เข้าร่วมทำการตรวจรักษา ผ่าตัด ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยหนักเข้ามารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลและร่วมมือในการตรวจพิสูจน์ศพและเอกลักษณ์บุคคลผู้เสียชีวิต อีกทั้งยังได้ส่งทีมทันตแพทย์เข้าให้บริการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโดยอาศัยหลักฐานทางฟันด้วย

ทางคณะพยาบาลศาสตร์และนิสิตปริญญาโทที่ศึกษาที่จังหวัดตรัง ได้ส่งทีมเข้าร่วมกับสถาบันอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือด้านการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ประสบภัย ส่วนทางด้านคณะนิเทศศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศเพื่อประสานงานในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ในระยะต่อมาคณะนิติศาสตร์ ได้ส่งอาจารย์และนิสิตเข้าร่วมกับบุคลากรจากกระทรวงยุติธรรมในการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและการจัดทำเอกสารทางราชการที่จำเป็น

๒. การสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความจำเป็นและตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าร่วมสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีความเห็นว่าน่าจะได้ถือโอกาสพลิกฟื้นฟูธรรมชาติที่เสียหายจากเหตุการณ์นี้ไปพร้อมๆกับการวางแผนจัดระเบียบเพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาในทุกๆด้านอย่างยั่งยืน พร้อมกับช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายจากปัจจัยอื่นๆในอนาคตด้วย

๓. การสนับสนุนการฟื้นฟูด้านชุมชนและเศรษฐกิจสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักดีเช่นเดียวกันว่าภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพและมีศักดิ์ศรีของประชากรในพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติจำเป็นต้องมีแผนการดำเนินงานบูรณะฟื้นฟูเชิงบูรณาการและครบวงจร และควรอยู่บนพื้นฐานของความรู้และข้อมูลที่มีการวางแผน บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ อาจารย์และนิสิต พร้อมทั้งนักวิชาการจากหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวให้ครอบคลุมในหลายมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพกายและใจ ภาวะแวดล้อม เป็นต้น

๔. การประสานงานเพื่อขอรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากนานาประเทศหรือองค์กรต่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมมือกับรัฐบาลในการเป็นแกนนำจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ และองค์กรต่างประเทศที่แสดงความจำนงในการเข้าช่วยเหลือแก่ประชากรในพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติ

กลับไปหน้าหลัก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยสร้างชาติ

เมื่อพันเอกหลวงพิบูลสงครามได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ยังคงดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไป การที่บุคคลในคณะรัฐบาลเข้ารับตำแหน่งสำคัญในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้นำคณะราษฎรได้ให้ความสำคัญแก่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมาก

๒๒

คณะจิตวิทยา

ปริญญาเอกหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย

๔๗

พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์

เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพืชเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับพืชของประเทศไทยรวมทั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติงานวิจัยของนิสิตและคณาจารย์

๘๖
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า